วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553

เมื่อวันที่ 10-11 ได้มีการสอบการสอนหน้าชั้นเรียนกัน ทำให้ดิฉันมีความรู้สึกตื่นเต้นมาก
หน่วยเรื่อง "แมลง" ชั้นอนุบาล 2 (วันที่ 2)
แผนการสอน

ขั้นนำ
ครูให้เด็กๆท่องคำคล้องจองยุง
ขั้นสอน
1.ครูนำและเด็กร่วมกันสนทนาลักษณะของยุง โดยใช้คำถามในคำคล้องจอง
2. ให้เด็กออกมาชี้ส่วนประกอบของยุงในแผนภาพ พร้อมกับนับจำนวน

ขั้นสรุป
ครูและเด็กร่วมกันสรุปลักษณะของยุง

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553


***การเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้อธิบายถึง "วิธีการจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จ " และจากนั้นก็ได้อธิบายเพิ่มเติมจากสัปดาห์ที่แล้วเกี่ยวกับเนื้อหา และวิธีการสอนของแต่ละช่วงอายุ อย่างละเอียดโดยมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
การจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จ
ก่อนอื่นต้องรู้ "วิธีการเรียนรู้ของเด็ก"(การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการลงมือปฏิบัติ)
ได้แก่
-รู้พัฒนาการ
-รู้ความต้องการของเด็ก
-รู้ธรรมชาติของเด็ก เช่น การเล่นซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี

วิธีการสอนคณิตศาสตร์
-โดยสอนจากของจริง , ภาพ,สัญลักษณ์

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 28 มกราคม 2553


+++วันนี้อาจารย์เริ่มตรวจงาน 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม A และ กลุ่ม B กลุ่มของดิฉันได้กลุ่ม A 3 เรื่อง แมลง ส่วนอีกกลุ่ม คือ กลุ่ม B ได้เรื่อง ดอกไม้ และหลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้อธิบายหัวข้อและเนื้อหาที่แต่ละกลุ่มจะต้องถ่ายทอดให้เด็กอนุบาลอย่างถูกต้องตามหลักพัฒนาการ จากนั้นอาจารย์เริ่มอธิบาย แนะนำวิธีการสอนให้กับกลุ่ม ดอกไม้ก่อน เช่น
หน่วยดอกไม้
-อนุบาล 1 เป็นเรื่องของดอกไม้ ลักษณะ ประโยชน์ และโทษ ของดอกไม้เป็นต้น
-อนุบาล 2 เป็นการเจาะจงดอกไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น เรื่องง ดอกกุหลาบ
-อนุบาล 3 เน่นเรื่องการปฏิบัติจริงมากขึ้น เช่น การสอนลักษณะของดอกไม้ว่ามีลักษณะอย่างไร จะต้องให้เด็กเห็นอย่างชัดเจน คือเป็นการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น ให้เด็กได้มีการออกสำรวจสิ่งต่างๆด้วยตนเองโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน

---หน่วยแมลง---


เนื้อหาบางส่วนมีความคล้ายคลึงกันกับกลุ่ม ดอกไม้
อนุบาล 1 เป็นเรื่องของชื่อแมลง ลักษณะ ประโยชน์และโทษ เป็นต้น
อนุบาล 2 เจาะจงแมลงชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น ยุง
อนุบาล 3 เป็นเรื่องของประเภทของแมลง การสำรวจสิ่งต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกับแมลง เช่นสถานที่ที่มีแมลง การเรียกแมลง โประโยชน์ของแมลง และแมลงที่เป็นอาหารของมุษย์+++

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 14 มกราคม 2553


**วันนี้อาจารย์ได้สอนการทำ MindMap ก่อนเขียนแผน
. ข้อมูลส่วนตัว
. ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง
. เด็กดี
. มีวินัย
. ซื่อสัตย์ สุจริต
. ร่างกาย
. อวัยวะ
. การรักษาสุขอนามัย
.การออกกำลังกาย

และหน่วยอาหาร
อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
- ประเภท
- ประโยชน์และโทษ
- การประกอบอาหาร
- มารยาทในการรับประทานอาหาร

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 7 มกราคม




หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากจะเข้าใจพัฒนาการเด็ก ธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็ก และขอบข่ายของหลักสูตรที่ลึกซึ้งแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยด้วย เช่น
1.สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2.เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้ "พบคำตอบด้วยตนเอง"
3.มีเป้าหมายและการวางแผนเป็นอย่างดี
4.เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนการสอนและลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5.ใช้วิธีการรจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติกรรมเพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
6.ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก
7.รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8.ใช้วิธีการสอนแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยากๆ
9.ใช้วิธีสอนให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับตัวเลข
10.วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง
11.บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสมำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุง
12.คาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว
13.เน้นการเล่นจากง่ายไปยาก

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยไว้ดังนี้
1.การนับ
2.ตัวเลข
3.การจับคู่
4.การจัดประเภท
5.การเปรียบเทียบ
6.การจัดลำดับ

7.รูปทรงและเนื้อที่
8.การวัด
9.เซต
10.เศษส่วน
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย
12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ

สรุป

ความหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
“คณิต” หมายถึง การนับ การคำนวณ วิชาคำนวณ การประมาณ
“คณิตศาสตร์” หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณหรือตำรา
คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ว่าด้วยนามธรรม ที่อาศัยสัญลักษณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาแทนนามธรรม ภาษาคณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจโลก และสรรพสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับ ปริมาณ จำนวน ตำแหน่ง มิติ และเวลา เด็กปฐมวัยเรียนรู้คณิตศาสตร์มิใช่เฉพาะเรื่องจำนวน และตัวเลข เด็กสามารถที่จะเรียนรู้ได้ดีด้วยการสังเกต เปรียบเทียบจำนวนสิ่งของที่มากกว่าหรือน้อยกว่า สั้น-ยาว สูง- ต่ำ ใหญ่-เล็ก หนัก-เบา ลำดับ เพิ่ม-ลด หรือแม้แต่ปริมาตรมาก-น้อย ของสิ่งที่บรรจุในภาชนะ ซึ่งถ้าเป็นเรื่องหรือของจริงใกล้ตัว เด็กจะเห็นเป็นรูปธรรมทำให้เข้าใจได้ง่าย

ความสำคัญของคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นการวิชาที่เกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างมีระบบและวิธีการ สามารถสร้างสรรค์คนให้มีนิสัยละเอียดสุขุมรอบคอบและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ศิริลักษณ์ วุฒิสรรพ์ ( 2551: 28-29 ) กล่าวว่า กิจกรรมควรออกแบบให้กระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กรู้สึกสบายๆ กับการแก้ปัญหากิจกรรมต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เน้นการประสบการณ์ของเด็กเป็นรายบุคคล
คณิตศาสตร์มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเด็กในการเล่นและพูดคุยของเด็กนั้น มักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ จากคำพูดของเด็กที่เราได้ยินมักจะพบอยู่เสมอว่ามีการพูดึงการเปรียบเทียบ การวัด และตัวเลข เช่น “เอาอันที่ใหญ่สุดให้หนูนะ” “หนูจะเอาอันกลม ๆ นั่นละ” “โอ้โฮ อันนี้ราคาตั้ง 10 บาท” ประโยคเหล่านี้ล้วนน่าสนใจและแสดงถึงการใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ มีทักษะและความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

จุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์
1.เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การ บวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
2.เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ
3.เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
4.เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน
5.เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
6.เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และอยากค้นคว้าทดลอง

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
1.การนับ
2.ตัวเลข
3.การจับคู่
4.การจัดประเภท
5.การเปรียบเทียบ
6.การจัดลำดับ
7.รูปทรงและเนื้อที่
8.การวัด
9.เซต
10.เศษส่วน
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย
12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (แม้รูปร่างจะเปลี่ยนแปลงไปแต่เด็กสามารถบอกปริมาณได้)